App Store Optimization

ASO คืออะไร?


         App Store Optimization (ASO)คือกลยุทธ์การปรับแต่ง App Store ให้แอปพลิเคชันเราอยู่ในอันดับต้น ๆ  และค้นหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น คล้าย ๆ กับการทำ SEO บนเว็บไซต์ หรือหมายถึง App Store SEO, App Search Optimization หรือ Mobile App SEO นั่นเอง

ทำไมถึงต้องทำ ASO?



         จากรายงานของ Apptentive เมื่อปี 2016 พบว่า ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมค้นหาแอปพลิเคชันจากการค้นหาบน App Store มากที่สุด ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องทำให้แอปพลิเคชันของเราปรากฎขึ้นมาในอันดับต้น ๆ เมื่อถูกค้นหา ผู้ใช้งานก็จะมีโอกาสสูงที่จะติดตั้งแอปพลิเคชันของเรา



 ASO ทำอย่างไร?


        1. ค้นหาคีย์เวิร์ด App Store ที่ใช่ 

a) App Store Keyword Ideas เราสามารถหาไอเดียคีย์เวิร์ดได้จากเครื่องมือดังต่อไปนี้
            
       เบื้องต้นพยายามหาคีย์เวิร์ดให้ได้อย่างน้อย 50 คำ วิธีการใช้เครื่องมือข้างต้นไม่ยาก แค่ใส่คีย์เวิร์ดที่เราอยากจะค้นหา 1 คำ ก็จะปรากฎคำที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดนั้นขึ้นมาทั้งหมด

b) Optimize Your App Store Keywords - ปรับแต่งคีย์เวิร์ด App Store (คัดเหลือ 25 คำ)

เครื่องมือช่วยปรับแต่งคีย์เวิร์ด AppStore 
สามารถดูได้จากลิงค์นี้ https://www.apptamin.com/blog/app-developer-tools/#aso

กลยุทธ์การปรับแต่งคีย์เวิร์ด App Store

1. สำหรับแอปฯใหม่ ให้เลือกที่ low difficulty และ reasonable traffic จะช่วยให้แอปฯเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลังจากนั้นให้เลือกที่ higher traffic และ reasonable difficulty จะช่วยทำให้ยอดดาวน์โหลดเพิ่มมากขึ้น

2. เลือกใช้ Long-tail App Store Keywords เพื่อความได้เปรียบกว่าแอปฯคู่แข่ง (Long-tail Keywords คือ คีย์เวิร์ดที่มีความเฉพาะเจาะจงสูง เป็นคำที่สื่อความหมายที่ชัดเจนว่ากำลังหมายถึงอะไรอยู่) เช่น Zynga Poker ใช้ Keywordว่า "Poker" (higher traffic) แต่เรามีโอกาสปรับแต่งคีย์เวิร์ดให้เจาะจงมากขึ้น ใช้ Keywordว่า"Poker Casino"  (lower difficulty) คู่แข่งประมูลKeywordก็น้อยกว่า ผู้ใช้งานก็มีโอกาสค้นหาแอปฯของเราเจอในอันดับต้น ๆ ได้สูงขึ้น
3. Retiring Poor App Store Keywords - กำจัดคีย์เวิร์ดที่แสดงผลไม่ดี แล้วแทนที่ด้วยคีย์เวิร์ดที่สามารถทำให้แอปฯของเราติดอันดับ1ใน10 เมื่อถูกค้นหาในApp Store อยู่เสมอ

       2. นำคีย์เวิร์ด App Store ไปใช้ให้ถูกที่ - เรามีเนื้อหาที่จะปรากฎบน App Store อยู่หลายส่วน ดังต่อไปนี้


a) App Name - ชื่อแอปฯ

ชื่อแอปฯนั้นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการถูกค้นหาบน App Store ดังนั้นชื่อแอปฯจึงเทียบเท่ากับคีย์เวิร์ด App Storeนั่นเอง

จากผลสำรวจของ MobileDevHQ (ตอนนี้เปลี่ยนชื่อเป็น Tune) เมื่อใส่คีย์เวิร์ดในชื่อแอปฯแล้วช่วยเพิ่มอันดับการถูกค้นหาได้มากถึง 10.3%


ทั้งนี้คีย์เวิร์ดที่เราเลือกไปใส่ในชื่อแอปนควรคำนึงถึง branding ด้วย ไม่ใช่เลือกใส่พร่ำเพรื่อ
โดย iOS App Store กำหนดความยาวของชื่อแอปฯไม่เกิน 30 ตัวอักษร
ส่วน Google Play Store นั้นชื่อแอปฯห้ามยาวเกิน 50 ตัวอักษร

เทคนิคการตั้งชื่อแอปฯ - ควรเลือกชื่อที่สั้น กระชับ เป็นที่จดจำง่าย และเราสามารถต่อท้ายชื่อแอปฯด้วยคีย์เวิร์ดอื่น ๆ โดยคั่นด้วยเครื่องหมาย :หรือ , 

ตัวอย่างการตั้งชื่อแอปฯ 


เนื่องจากiOS App Store นั้นใช้ชื่อแอปฯใส่ลงไปในApp URL ด้วย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงไม่ใส่สัญลักษณ์พิเศษลงไปในชื่อแอปฯ เช่น เครื่องหมายการค้า สัญลักษณ์copyright เป็นต้น เพราะทางApp Storeจะใช้ app’s numeric ID ของคุณ ค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องแทนชื่อแอปฯ

b) App subtitle (สำหรับ iOS App Store เท่านั้น)

App subtitle  จะปรากฎอยู่ใต้ App Name โดยจำกัดความยาวไม่เกิน 30 ตัวอักษร




 การใส่คีย์เวิร์ดในApp subtitleก็ถือว่ามีส่วนสำคัญ เพราะเป็นหนึ่งในตัวชื่อวัดของ app store search ดังนั้นจึงควรเลือกคีย์เวิร์ดที่มีคุณค่ามากที่สุด

c) App description (สำหรับ Google Play Store)

เนื่องจากอัลกอริทึมของ Google Play Store keyword search นั้นจะค้นหาคีย์เวิร์ดที่ปรากฎในส่วนคำอธิบายเกี่ยวกับแอปฯด้วย ดังนั้นในช่วง2-3บรรทัดแรก เราจึงควรพยายามใส่คีย์เวิร์ดที่สำคัญลงไป

นอกจากนี้ Google Play Store ยังอนุญาตให้เราสามารถใส่ rich formatting และ emoji ในส่วนคำอธิบายเกี่ยวกับแอปฯได้อีกด้วย ทำให้ข้อความน่าอ่านมากยิ่งขึ้น

d) App description (สำหรับ iOS App Store)

ถึงแม้ว่าอัลกอริทึมของ App Store keyword search นั้นจะไม่นำคีย์เวิร์ดที่ปรากฎในคำอธิบายเกี่ยวกับแอปฯไปค้นหา ก็ใช่ว่าส่วนนี้จะไม่สำคัญ

ในส่วน2-3บรรทัดแรก ให้พยายามใส่ข้อความที่ดึงดูดผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด อาจจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับชื่อเสียงของแอปฯ ความนิยม ฟังก์ชั่นเด่น ๆ รวมไปถึง app’s social media links เพื่อให้ผู้สนใจเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติม

Short Description Text ที่ปรากฎให้ผู้ใช้งานเห็นโดยไม่ต้องกดอ่านเพิ่มเติมนั้น ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากต่อการตัดสินใจว่าจะดาวน์โหลดแอปนนี้หรือไม่ ตามที่ StoreMaven เคยกล่าวไว้ ใน Google Play Store มีเพียง 5 % เท่านั้นที่ผู้ใช้งานจะคลิกอ่านเพิ่มเติม ส่วน App Store ยิ่งน้อยลงไปอีก มีเพียง 2 % เท่านั้น และยิ่งไปกว่านั้นในเวอร์ชั่นมือถือ สามารถแสดงข้อความในส่วนนี้ให้เห็นได้เพียง 252 ตัวอักษร 



e) App Promotional Text (เฉพาะ iOS App Store เท่านั้น)

 จากการแนะนำ iOS 11 นั้น App Promotional Text จะปรากฎอยู่บนคำอธิบายเกี่ยวกับแอปฯ จำกัดความยาวไม่เกิน 170 ตัวอักษร

ส่วนนี้ก็ไม่ได้มีผลต่ออัลกอริทึมของ App Store keyword search เราสามารถแก้ไขส่วนนี้ได้ทุกเวลา โดยไม่ต้องรอแอปฯอัปเดตเวอร์ชันใหม่

การทำ A/B Test on Promotional Text

เราสามารถใช้ App Promotional Text นำมาทดสอบหาข้อความที่ทำให้เกิด conversion rate สูงสุดได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพราะไม่ต้องรอแอปฯอัปเดตเวอร์ชันใหม่ โดยสามารถแก้ไขข้อความส่วนนี้ได้ทุกเมื่อ เมื่อพบว่าวลีไหนได้ประสิทธิภาพสูงสุด เราก็สามารถนำไปใส่เพิ่มใน app store keywordsได้


f) App Store Keyword field (เฉพาะ iOS App Store เท่านั้น)


หลักการเลือกใช้คำค้นที่ใช้ระบุสำหรับการค้นหามีดังต่อไปนี้

  • ใช้ความยาว  100 ตัวอักษรให้คุ้มค่าที่สุด
  • เว้นวรรคแต่ละคีย์เวิร์ดด้วยคอมม่า (,)
  • หลีกเลี่ยงช่องว่าง คำนำหน้าคำนามและคำบุพบท
  • ใช้เอกพจน์หรือพหูพจน์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • อย่าใส่คีย์เวิร์ดซ้ำซ้อน
  • ใช้ตัวเลขแทนตัวหนังสือ
  • ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อบริษัท ชื่อแอปฯ และประเภทของแอปฯ
g) In-App Purchases (เฉพาะ iOS App Store เท่านั้น)

iOS 11 นั้น ผู้ใช้งานสามารถค้นหาIn-App PurchasesโดยตรงจากApp Store ได้เลย In-App Purchasesสามารถปรากฎที่ product page,search results หรือบางทีอาจจะปรากฎที่ featured on the Today, Games และ Apps tabs

ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำว่าควรใส่ App Store keyword search ใน  IAP items ด้วย
ใน product page สามารถแสดง IAP items พร้อมกันสูงสุดถึง 20 อัน






 

3.Convert visitors to users - เปลี่ยนผู้เยี่ยมชมมาเป็นผู้ใช้งาน


หลังจากปรับแต่ง App store keyword แล้ว สิ่งสำคัญในการทำ ASO ขั้นต่อไปคือการปรับแต่ง App store page

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในส่วนของApp store pageมีดังต่อไปนี้

a) App Icon

App Iconที่ดีสามารถช่วยเพิ่มยอดได้โหลดได้สูงถึง  560%!

App Icon ควรจะสะดุดตา ไม่รก ไม่ควรใส่ข้อความลงไป และควรทำให้ผู้ใช้งานจดจำได้ตั้งแต่ครั้งแรก โดยต้องมั่นใจว่าเมื่อปรับขนาดตาม  App store/Google Play Store กำหนดแล้ว App Icon จะยังดูดีอยู่ และไม่ควรออกแบบApp Icon ให้คล้ายกับคู่แข่งจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความสับสน ดาวน์โหลดผิดแอปฯได้ ทดลองใส่กรอบหลาย ๆ สีเพื่อช่วยทำให้ App Icon โดดเด่นยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะปรากฎบนหน้าจอที่มีพื้นหลังสีเข้มหรือสีอ่อน

ทั้งนี้เราสามารถหาไอเดียการออกแบบApp Iconที่ดี ได้จากtop-rated apps ของ App store/Google Play Store

เทคนิคการออกแบบApp Iconสำหรับ Branded vs Functional Icon

Branded  Icon นั้น สามารถใส่โลโก้ Brand ลงไปได้ เพื่อช่วยให้จดจำ และสร้างBrand Awareness
ส่วน Functional Icon  ใช้วัตถุหนึ่งสิ่งอธิบายความเป็นแอปฯของคุณ

ตัวอย่าง Branded vs Functional Icon


b) Screenshots

จากรายงานของ StoreMaven 60% ของผู้ใช้งานจะดู Screenshot แค่ 2 รูปแรก ดังนั้นScreenshot 2รูปแรกที่ดีสามารถสร้างconversion rateได้ถึง  25%!

Screenshot ที่ดีนั้นต้องส่งสารถึงผู้ใช้งานได้ในรูปเดียว พยายามใส่สิ่งที่ทำให้ผู้ใช้งานประทับใจอยากจะดาวน์โหลดแอปฯของคุณในScreenshot 2 รูปแรก 

ทั้งนี้หลีกเลี่ยงใช้รูปภาพหน้าล็อกอิน ลงทะเบียน ซื้อสินค้า โฆษณา หรือ หน้าต้อนรับเข้าสู่แอปฯ 

ตัวอย่าง Screenshot แนวตั้งของเกม Clash of Clans



เทคนิคการเลือก Screenshot ควรแสดงผลเป็นแนวตั้งมากกว่า เพราะเมื่ออยู่บนหน้าจอโทรศัทพ์มือถือแล้วจะสามารถเห็นรูปภาพและข้อความทั้งหมดได้ครบถ้วนกว่ารูปภาพในแนวนอน


c) Preview Video

ตามรายงานของ StoreMaven Preview Video สามารถช่วยเพิ่มยอดดาวน์โหลดได้สูงถึง 23% โดยเพิ่มPreview Videoได้ที่ poster frame (iOS) / feature graphic (Google Play)

หลักการทำPreview Video จาก Apptamin

  • ใช้เวลา 5 วินาทีแรก ดึงดูดความสนใจของผู้ชมให้ได้
  • เลือกเฉพาะฟีเจอร์ที่สำคัญ ไม่ต้องใส่มาทั้งหมด
  • วิดีโอต้องมีความไหลลื่น ถึงแม้ว่าจะปิดเสียงวิดีโอตอนรับชมก็ตาม
  • พยายามทำให้เกิด call-to-action

iOS 11 notes:

ในส่วน search result page ของ iOS 11 สามารถแสดง Screenshot ได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 รูป จากเดิมแสดงได้เพียง 2 รูปเท่านั้น ส่วน Preview Video จะแสดงอยู่ก่อนหน้า Screenshot และจะเล่นวิดีโออัตโนมัติในครั้งแรก แต่เสียงวิดีโอจะถูกตั้งค่าปิดไว้



d) Ratings & Reviews Check out for infographic
   
   Ratings & Reviews นั้นมีส่วนสำคัญไม่น้อยกว่าสิ่งอื่นต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งานว่าจะดาวน์โหลดแอปฯของคุณหรือไม่ จากผลสำรวจของ Kahuna.com พบว่า Top 100 free iPhone App จะมีRatingอยู่ที่ 4 ดาว ขึ้นไป โดยRatings และ Reviews  นั้นมีส่วนเพิ่ม Conversion Rate อย่างมาก จากรูปประกอบด้านล่าง จะเห็นว่าแอปฯที่มี Ratings 2 ถึง 4 ดาว จะมี Conversion Rate  สูงถึง 540 % เลยทีเดียว


และอย่าลืมเข้าไปตอบฟีดแบคของผู้ใช้งาน เพราะนั่นแสดงถึงความใส่ใจของคุณ และยังทำให้ผู้ใช้งานอื่นรู้สึกประทับใจกับผู้พัฒนาแอปฯนี้

สำหรับ Google Play สามารถตอบกลับฟีดแบคได้ที่ Reply to a review ในหลังบ้านDeveloper Console



ส่วน iOS App Store ก็สามารถทำได้เช่นกัน ด้วยการเชื่อมต่อ iTunes เข้าไปยัง ‘My Apps > Choose your app > Activity > Ratings and Reviews’
คุณจะเห็นตัวเลือก “Reply”ในแต่ละความคิดเห็น

แล้วควรตอบฟีดแบคอย่างไร?

1. รีบตอบกลับเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. ถ้าหากไม่สามารถตอบกลับทั้งหมดได้ ให้เลือกตอบตามลำดับความสำคัญ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเวอร์ชันแอปฯล่าสุด เลือกตอบผู้ใช้งานที่ให้Rating 1 ดาว
3. เมื่อคุณอัปเดตเวอร์ชันแก้ไขปัญหาเสร็จแล้ว ก็ให้ไปแจ้งฟีดแบคกับผู้ใช้งานในรีวิวด้วย
4.สุดท้ายเมื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้ใช้งานเสนอแนะแล้ว อย่าลืมขอให้ผู้ใช้งานให้Ratings และ Reviewsให้ใหม่

e) App Size

ขนาดไฟล์ของแอปฯไม่ควรใหญ่เกิน 100 MB เพราะจะต้องเชื่อมต่อ WiFi ถึงจะดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่มากได้



f) Update Frequency - หมั่นอัปเดตเวอร์ชันแอปฯอยู่เสมอ

จากสถิติพบว่าแอปฯที่มีการอัปเดตเวอร์ชันอยู่เสมอจะมีRatings และ Reviewsสูง และที่สำคัญคือเมื่อคุณอัปเดตเวอร์ชัน แอปฯของคุณจะไปปรากฎใน updates list ของ App Store อีกด้วย ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานรู้จัก และเชื่อมั่นแอปฯของคุณมากขึ้น

ทั้งนี้ควรอัปเดตเวอร์ชันอย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือมีการอัปเดตแก้ไข Bug ในทุกสัปดาห์

g) App Localization

จากการทดสอบทำlocalization หรือการปรับตัวให้เหมาะกับวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ของคุณDavid Janner แห่ง MAKE APP Magazine ในการทดสอบของเขา เขาได้ทำการlocalizationเฉพาะส่วน app name และ app store keywords แล้วก็ในส่วน2-3บรรทัดแรกของapp description จากการทดสอบเพียงเล็กน้อยของเขาพบว่า สามารถช่วยเพิ่มยอดดาวน์โหลดได้มากถึง  767% 

 ดังนั้นถ้าไม่อยากพลาดโอกาสสร้างรายได้ของคุณ จึงควรทำlocalization

h) Conversion Rates

เราควรจะติดตามตัวเลข Impression ของ app preview จำนวนผู้เข้าชมapp page และจำนวนผู้ติดตั้งแอปฯ ว่าผู้ใช้งานหล่นหายไปตรงช่วงใดมากที่สุด เมื่อเราทราบว่าเกิดปัญหาที่จุดไหน ก็ลองปรับเปลี่ยน แล้วดูว่า Conversion Rates เพิ่มขึ้นหรือไม่

i) Apple’s Spotlight Search and Google’s Firebase App Indexing

สำหรับผู้พัฒนาแอปฯiOS

 ฟังก์ชัน Spotlight Search ของ Apple นั้น เป็นฟังก์ชันช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานiOS สามารถค้นหาแอพพลิเคชั่นหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับผู้พัฒนาแอปฯแล้ว ควรเปิด enable Spotlight search เพื่ออนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาแอปฯของคุณเจอเมื่อค้นในฟังก์ชัน Spotlight Search ซึ่งฟังก์ชันนี้ทำให้เกิดengagementขึ้น แล้วก็จะช่วยพัฒนา  iOS app store search ranking ของคุณให้อยู่อันดับต้น ๆ นั่นเอง



สำหรับผู้พัฒนาแอปฯiOSและAndroid

Firebase App Indexing ของ Google เปลี่ยนชื่อมาจาก Google App Indexing ที่ช่วยให้ Google Search ค้นเจอเนื้อหาภายในแอปฯ 

โดยหลักการทำงาน App Indexing คือ เมื่อค้นหาสิ่งใดก็ตามใน google search อย่างเช่น จองโรงแรม  ก็จะพบจองโรงแรมปรากฎบนผลการค้นหาของเว็บไซต์  ซึ่งผลลัพธ์บางส่วน สามารถ link เข้าถึงเนื้อหาภายในแอปฯมือถือได้ด้วย

App Indexing นั้นสามารถใช้ได้ผ่านทางแอปฯ google search และ chrome บน Android และ iOS ซึ่งนักพัฒนาแอปฯ ควรจะ enable Firebase App Indexing เพื่อดึงผู้ใช้ดาวน์โหลดแอปฯจากผลลัพธ์การค้นหาของ google search นั่นเอง



บทสรุปความแตกต่างการทำASOของiOS และ Android มีดังต่อไปนี้


สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญสำหรับทำ ASO


ที่มาของภาพ: StoreMaven

สิ่งที่ดึงดูดให้ผู้ใช้งานเลือกดาวน์โหลดApp


ที่มาของภาพ: StoreMaven

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.meatti.com/blog/app-store-optimization-tips/


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับแคมเปญCPI

โปรโมทCasual Games อย่างไรให้ปัง!